CELLULAR

CELLULAR
ระบบเซลลูลาร์

การบรรยายเทคโนโลยีการสื่อสารของนักศึกษา FB

น.ส. กาญจนาพร วีรเดช Bluetooth
น.ส. จีราพร จวนสว่าง 3G
น.ส.จิตติยา วิลัยศิล Satellite
น.ส.จิราพร คำโสม Cellular
น.ส.ธัญญา ครูบรรณ์ Wifi
น.ส.นิรมลรัตน์ ร่มสุข Optic fiber
น.ส.สรัญญา โพธิ์เงิน Wimax
น.ส.อนุสรา จันทร์อาว Cellular
น.ส.อาทิตยา ป้อมเขต CDMA
นายอุกฤษฎ์ แตรตุลาการ GMS
น.ส.จิตตาภรณ์ สมใจ Microwave
นายปฏิพัทธิ์ อิ่นคำ Wifi
น.ส.ฉวีวรรณ อินต๊ะสงค์ Bloetooth

มหาวิทยาลัยนเรศวร

สรุปเนื้อหาบทเรียน เรื่องคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ทางธุรกิจ

สรุปเนื้อหาบทเรียน  เรื่องคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ทางธุรกิจ
ตั้งแต่บทที่ 1 ถึงบทที่ 8

ปั๊ก ( PUG )

สุนัขพันธุ์ปั๊ก

สุนัขพันธุ์ปั๊ก
มารู้จากสุนัขพันธุ์ปั๊กกันค่ะ....น่ารักนะค่ะ

เพลงที่ชอบ___หลากหลายแนวอ่ะ

ไมเคิล แจ็คสัน

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันแม่แห่งชาติ

ความเป็นมาของวันแม่




ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว


สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา

เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย... นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง


ดังเช่น


ภาษาไทย แม่
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ ม๋เปะ
ภาษามุสลิม มะ
ภาษาไทใต้คง เม
เป็นต้น


วันแม่


คำนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้ กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้” พระคุณของแม่อันประกอบไปด้วยความรักที่มีต่อลูกอย่างสุดหัวใจเช่นนี้ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รัก” ให้แม่ได้ชื่นใจบ้าง เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม่ ผ่านภาพและเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า “ลูกรักแม่”



กลอนวันแม่



พระแม่ทรงโปรดเอื้อ แรงกาย
เยี่ยมประชาทุกข์คลาย ราษฎร์พร้อง
ศิลปาชีพขจรขจาย สารทิศ ตามพระแม่
พสกนิกรแซ่ซ้อง เทิดหล้าราชินี



ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า อนุสรา จันทร์อาว





วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจสายการบิน



การใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจสายการบิน

ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ด้วยเหตุผลหลายประการ
1. เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว
2. เพื่อแข่งขันกับสายการบินอื่นๆ
3. เพื่อรักษาความปลอดภัยในการบิน

โดยช่วยให้สามารถตรวจสอบสภาพเครื่องบินและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ
ธุรกิจที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ อาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภท คือ
1. ผู้โดยสาร
2. สินค้าพัสดุภัณฑ์
3. บริการอื่น ๆ เช่น ครัวการบิน สินค้าปลอดภาษีและบริการรับส่งผู้โดยสารภาคพื้นดิน เป็นต้น





- ระบบบริการผู้โดยสารอาจจะเริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึงจำนวนที่นั่งซึ่งสามารถขายได้ และอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบงานสำรวจที่นั่งผู้โดยสาร ระบบงานสำรวจจะวางบรรทุกและระบบตรวจรับผู้โดยสาร เป็นต้น
- ระบบบริการและโดยสาร อาจจะแยกเป็นระบบงานสำรวจที่นั่งผู้โดยสาร ระบบควบคุมการสำรองที่นั่ง ระบบพิมพ์ตั๋วอัตโนมัติ ระบบสำรองห้องพักโรงแรม ระบบชำระค่าโดยสารที่นั่งกลุ่มท่องเที่ยว และระบบติดตามกระเป๋า และสัมภาระ เป็นต้น
- ระบบงานขนส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ อาจจะประกอบด้วยระบบจัดสารและควบคุมระวางบรรทุก ระบบสำรอง ระวางบรรทุก ระบบตรวจสินค้า ระบบควบคุมคลังเก็บสินค้า ระบบตระเตรียมขนส่งขนส่งสินค้า ระบบงานสินค้าขาเข้าและ ระบบควบคุมและติดตามอุปกรณ์ขนส่ง เป็นต้น
- ระบบครัวการบิน เป็นระบบซึ่งช่วยให้การดำเนินงานครัวการบินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเก็บข้อมูลของลูกค้าว่าใครต้องการอาหารอะไรพิเศษหรือไม่ เก็บข้อมูลตารางบินของแต่ละรายการบินที่มาใช้บริการ รายการอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน สูตรและวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหาร ทั้งนี้เพื่อคำนวณต้นทุนในการผลิตและตั้งราคาวิเคราะห์คาดการสั่งซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอแก่ความต้องการอำนวยความสะดวกในการจัดและควบคุมวัตถุดิบ อุปกรณ์และเครื่องมือ ตั้งแต่การจัดซื้อ การเบิกจ่ายและรับของไปจนถึงการบรรจุและขนย้ายไปยังเครื่องบิน เป็นต้น
- ระบบงานสินค้าปลอดภาษี เป็นระบบเพื่อช่วยจัดการและควบคุมการเบิกจ่าย จัดหาสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า บันทึกยอดขาย ตัดบัญชี และทำสถิติรายงานต่าง ๆ เสนอผู้บริหาร เป็นต้น บริการรับส่งผู้โดยสารภาคพื้นดิน เป็นระบบเพื่อช่วยให้การบริหารการใช้รถโดยสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยเก็บประวัติการใช้และการซ่อมของรถแต่ละคัน ระยะทางและเชื้อเพลิงที่ใช้ในการรับส่งแต่ละเที่ยว ควบคุมการเบิกจ่าย และจัดซื้ออะไหล่สำหรับการซ่อม เป็นต้น







อ้างอิงจากhttp://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK11/chapter4/t11-4-l1.htm#sect2